วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระงับปวด ในผู้ปวดระยะสุดท้าย

การใช้ยาระงับปวด ในผู้ปวดระยะสุดท้าย
 "http://portal.in.th/ms-pcare/pages/5325/

"วันนี้ปวดแผลไหมค่ะ ต้องการยาลดปวดรึเปล่าค่ะ"
"ถ้าปวดบอกได้นะค่ะ จะนำยาลดปวดมาให้คะ

คุณเคยได้ยินเสียงสอบถามเหล่านี้จากแพทย์หรือพยาบาลบ้างหรือไม่
เมื่อยามจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  เสียงที่ถามอย่างห่วงใย และปรารถนาดี
คำถามที่ปรารถนาจะให้ผู้ป่วยบอกเล่าถึงความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานเหล่านั้นให้ลดลง

จะเลือกใช้ยาอะไร 


แพทย์จะเลือกใช้ยา ขึ้นกับความรุนแรงและลักษณะของอาการปวด
ถ้าปวดน้อยใช้พาราเซตามอล ถ้าปวดปานกลางใช้โคเดอีนหรือ
ทรามาดอลร่วมกับพาราเซตามอล ปวดรุนแรงใช้มอร์ฟีนร่วมกับพาราเซตามอล โดยสามารถใช้ยาเสริมตามลักษณะของอาการปวด เช่น ปวดกระดูกเพิ่มยาลดการอักเสบ ปวดลำไส้บิดเป็นพักๆ เพิ่มยาลดการบีบตัวของลำไส้ ปวดแสบปวดร้อนจากระบบประสาทเพิ่มยากันชัก หรือยาระงับอาการซึมเศร้า เป็นต้น






จะรับประทานยาตอนไหน

ถ้าอาการปวดไม่มากหรือปวดเป็นครั้งคราว สามารถรับประทานยาเมื่อมีอาการได้ แต่ความปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้ายส่วนใหญ่ เช่น มะเร็ง เอดส์ มักเป็นความปวดต่อเนื่องตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอทั้งวัน ตามเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน ถ้ารอรับประทานเมื่อมีอาการแล้ว มักจะไม่ค่อยได้ผล
ยาระงับปวดส่วนใหญ่ ไม่มีฤทธิ์ระคายกระเพาะอาหาร จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานหลังอาหาร สามารถรับประทานขณะท้องว่างได้ ยกเว้นแอสไพรินหรือยาลดการอักเสบที่ใช้ในอาการปวดกระดูก

รับประทานพาราเซตามอลมาก ๆ ได้หรือไม่

ไม่ควรรับประทานพาราเซตามอลเกินวันละ ๘ เม็ด ถ้ารับประทานขนาดนี้แล้ว อาการปวดไม่ดีขึ้นใน ๒๔ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนเป็นยาอื่นเนื่องจากมีผลต่อตับ

ทำไมต้องใช้มอร์ฟีน



จำเป็นต้องใช้มอร์ฟีนสำหรับผู้ป่วยที่ปวดรุนแรง เนื่องจากออกฤทธิ์ได้ผลดี และปลอดภัยสูง สามารถเพิ่มปริมาณยาได้ไม่จำกัดตามความรุนแรงของอาการ และยังมีหลายรูปแบบ ทั้งชนิดน้ำเชื่อมออกฤทธิ์เร็ว ชนิดเม็ดออกฤทธิ์ช้าแบบต่อเนื่อง และชนิดฉีด จึงสามารถปรับเปลี่ยนยาได้สะดวก

ะติดมอร์ฟีนหรือไม่

ถึงแม้มอร์ฟีนจะถูกจัดอยู่ในยากลุ่มยาเสพติด และผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาเพิ่มขึ้นเมื่อมีอาการปวดมากขึ้นตามระยะของโรค แต่การติดยาเพราะภาวะทางจิตที่หวังผลสุขสบายจากยา โดยไม่เกี่ยวข้องกับผลระงับปวด เกิดขึ้นน้อยมากกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการดูแลของแพทย์
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาความปวดจากโรคด้วยวิธีอื่น เช่น การฉายรังสี หัตถการทางวิสัญญี เมื่อได้ผลแล้วจะสามารถลดปริมาณหรือหยุดการใช้มอร์ฟีนได้

ต้องระวังอะไรบ้าง เวลารับประทานมอร์ฟีน

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดของมอร์ฟีนคือ อาการท้องผูก จึงควรรับประทานยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ควบคู่ไปด้วยทุกวัน
มอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อมจะมีอายุการใช้งานไม่นาน ควรดูวันหมดอายุก่อนใช้ยาทุกครั้ง และเก็บรักษาตามที่โรงพยาบาลให้คำแนะนำ
มอร์ฟีนชนิดเม็ด ไม่ควรบด เคี้ยวหรือละลายน้ำเวลารับประทานเนื่องจากจะทำให้เม็ดยาสูญเสียคุณสมบัติการออกฤทธิ์ช้าแบบต่อเนื่องไป

การบรรเทาความเจ็บปวด
ที่มา : บทความเรื่อง การดูแลผู้ป่วยให้ "ตายดี" (6) จากเว็บไซต์หมอชาวบ้าน


โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่ยอมรับสภาพความเป็นจริงแห่งการเจ็บป่วยของตน และกลไกแห่งความตายตามธรรมชาติที่เป็นไปอย่างสุขสงบ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการทุกข์ทรมานอื่นๆ หรือถ้ามีก็ไม่เป็นปัญหามากนัก และสามารถคุมอาการได้ด้วยยาบรรเทาอาการตามธรรมดา

แต่ผู้ป่วยที่ไม่ยอมรับความเป็นจริงแห่งการเจ็บป่วยของตน และ/หรือไม่ยอมรับกลไกแห่งความตายตามธรรมชาติ และต้องการดิ้นรนต่อสู่ไม่ให้ตนเองตาย จะประสบกับความเจ็บปวดและอาการรบกวนต่างๆ ค่อนข้างมากจนถึงมากที่สุด ทำให้เกิดปัญหาแก่ตนเอง ครอบครัว และผู้ดูแลรักษา.

วิธีบรรเทาอาการเจ็บปวด



  1. การบีบนวดและการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะสำหรับอาการปวดเมื่อย ปวดตะคริว "เหน็บกิน" จากการอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานานๆ การช่วยบีบนวดและเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นิ่งๆ ซึ่งอาจเกร็งแข็ง                   (ติดยึด) อยู่จะช่วยลดอาการเหล่านี้ลงได้


2. การประคบร้อน/เย็น ซึ่งอาจใช้ "ลูกประคบ" เช่น ผ้าห่อสมุนไพรที่อังไฟหรือนึ่งให้ร้อน ซึ่งจะมีกลิ่น
        หอม ทำให้รู้สึกสบายขึ้น

   3. การช่วยให้จิตใจผ่อนคลายและสงบ เช่น การฟังเพลง/เทปพระเทศน์ การเปลี่ยนบรรยากาศ/
      สิ่งแวดล้อม เพื่อให้จิตใจของผู้ป่วยไม่ไปห่วงกังวลกับอาการเจ็บปวด จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลง 







4. การใช้ยาแก้ปวด อาจจะเริ่มตั้งแต่ยา acetaminophen (Paracetamol) ไปจนถึงมอร์ฟีน แบบกินหรือแบบฉีด โดยเริ่มจากขนาดต่ำๆ แต่ให้บ่อยๆ ได้ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ อาจใช้ยาอื่นร่วมด้วยเพื่อลดอาการปวด เช่น
1. สตีรอยด์ (steroids) ถ้าอาการปวดนั้นเกิดจากการอักเสบ/บวม การกดทับเส้นประสาท เป็นต้น
2. เอนเสด (NSAID, non-steroid anti-inflammatory drug) ถ้ามีอาการปวดข้อปวดกระดูก หรือมีการอักเสบ/บวม เป็นต้น
3. ยาลดการปวดเกร็ง (antispasmodics) ถ้าอาการปวดนั้นเกิดจากการบีบตัวรุนแรง ของกระเพาะลำไส้ หรืออื่นๆ
4. ยาระบบประสาท เช่น ยาแก้อาการซึมเศร้า เช่น amitryptytine, imipramine ยากันชัก เช่น carbamazepine, clonazepam, gabapentin ถ้าอาการปวดนั้นมีลักษณะปวดเสียวแปลบ ปลาบ แสบร้อน หรือปวดกระตุก เป็นต้น
5. การใช้ยานอนหลับ ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดแล้วยังไม่สามารถบรรเทาปวดได้ แม้จะใช้ยาติดๆ กันหรือในขนาดสูงจนเกิดอาการข้างเคียงจากยาแก้ปวดแล้ว ควรให้ยานอนหลับ เพื่อให้ผู้ป่วยหลับได้ ความทุกข์ทรมานจากอาการไม่สบายต่างๆ จะได้ลดลงหรือหมดไป ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกินขนาดต่ำๆ ก่อน แล้วกินซ้ำได้ใน 1 ชั่วโมงถ้ายังไม่หลับ จนกว่าจะหลับได้ ความเจ็บปวดจะลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น