วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Palliative Care : จากไปอย่างสงบ

การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Palliative Care)



 เนื่องจากในปัจจุบันประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ลักษณะของความเจ็บป่วยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีจำนวนผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุการตายส่วนใหญ่เปลี่ยนจากโรคติดเชื้อมาเป็นโรคมะเร็งและกลุ่มโรคทางหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจและสมองเสื่อม ผู้ป่วยกลุ่มนี้บางรายอาจจะป่วยอยู่ในระยะที่ยังพอรักษาได้ แต่บางรายอาจจะป่วยหนักจนกระทั่งความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันไม่สามารถยื้อความตายออกไปได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถูกมักถูกมองว่าเป็น "ผู้ป่วยที่หมดหวัง" ที่ไม่มีวิธีการรักษาใดๆเพิ่มเติม ทั้งที่ยังมีอีกหลายวิธีที่บุคลากรสายสุขภาพสามารถทำได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วย และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ในคำภาษาไทย อาจเรียกชื่อ Palliative Care ได้หลายอย่าง เช่น การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองหรือแบบประคับประคอง หรือการดูแลเพื่อบรรเทาอาการ วิถีแห่งการคลายทุกข์(1) อย่างไรก็ตาม คำในภาษาไทยทั้งหมดยังไม่สามารถอธิบายหลักการของ Palliative Care ได้อย่างครอบคลุมครบถ้วน ในบทความนี้จึงขอใช้คำว่า Palliative Care แทนคำแปลภาษาไทย 
Palliative Care คืออะไร
ในปีพ.ศ. 2533 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของ Palliative Care ว่าเป็น "วิธีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หาย โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการตลอดจนความทุกข์ทรมานด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นการดูแลเป็นแบบองค์รวม ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพอันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย" มีเป้าหมายหลักของการดูแลเพื่อลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบหรือ "ตายดี"(2)
ปัจจุบันทางองค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความใหม่ของ Palliative Care ไว้ว่าเป็น "วิธีการดูแลที่เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิต โดยให้การป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยการเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะแรกๆของโรค รวมทั้งทำการประเมินปัญหาสุขภาพทั้งทางด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียดครบถ้วน"(3)
การดูแลแบบ Palliative Care ไม่ได้เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าการดำเนินโรคเองตามธรรมชาติ และไม่ใช่การใช้เครื่องมือหรือความรู้ทางการแพทย์เพียงเพื่อยื้อความทรมานของผู้ป่วย โดยไม่เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย(3) การยื้อชีวิตของผู้ป่วยอาจจะทำในกรณีเดียวเท่านั้น คือ เป็นความต้องการของผู้ป่วยเอง เช่น ต้องการรอใครบางคนให้ทันกลับมาเจอกันในช่วงสุดท้ายของชีวิต หรือไม่ต้องการเสียชีวิตในช่วงที่เป็นงานมงคลของคนในครอบครัว เป็นต้น
หลักการอื่นๆที่สำคัญของ Palliative Care ได้แก่
ยอมรับ "การเสียชีวิต" ว่าเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของชีวิต
ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณของผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการดูแลอาการทางกายเสมอ
ให้ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล
การดูแลควรให้ความสำคัญต่อค่านิยม ความเชื่อ และศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
มีระบบการดูแลที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิตตลอดจนให้การดูแลภาวะเศร้าโศกของครอบครัว ภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว
การดูแลควรทำในลักษณะของทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้ทีมที่ดูแลสามารถดูแลปัญหาสุขภาพด้านต่างๆของผู้ป่วยและครอบครัวได้ดีที่สุด
สามารถทำควบคู่ไปพร้อมๆกับการรักษาอื่นๆ เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ตั้งแต่ระยะแรกๆของโรค เพื่อลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวเผชิญหน้ากับการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น

ใครบ้างที่ต้องการการดูแลแบบ Palliative Care
 เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หายหรือป่วยในระยะสุดท้าย ย่อมมีผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและสมาชิกที่เหลือในครอบครัวในหลายๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ หากผู้ป่วยเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก ก็อาจจะมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและการเงินของครอบครัวด้วย การให้สิทธิผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล โดยให้ความเคารพในความแตกต่างของความเชื่อ ค่านิยม และศาสนาของผู้ป่วยแต่ละรายและครอบครัว จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้อย่างมีศักดิ์ศรี และครอบครัวรู้สึกว่าได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย
การดูแลแบบ Palliative Care จึงไม่ได้เป็นการดูแลเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลบุคคลอื่นๆในครอบครัวด้วย ในบางกรณีผู้ดูแลหลักอาจไม่ใช่สมาชิกครอบครัว โดยอาจเป็นเพื่อนสนิท คนรู้จัก หรือคนที่จ้างมาดูแลแทน ในกรณีดังกล่าว มีความจำเป็นที่ทีมดูแลต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้ดูแลด้วย เพราะเป็นผู้ที่ได้เห็นประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจนกระทั่งเสียชีวิต ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยของผู้ดูแลหลัก ได้แก่ รู้สึกเหนื่อยจากการดูแลมากเกินไป หรือรู้สึกเศร้าโศกหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไป
การดูแลแบบ Palliative care ควรเริ่มเมื่อใด
การดูแลแบบ Palliative Care สำหรับผู้ป่วยและครอบครัว ควรเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่แรกที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคที่รักษาไม่หาย จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต ส่วนการดูแลครอบครัวและผู้ดูแล จะครอบคลุมไปจนถึงระยะเวลาหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต ที่สำคัญ การดูแลแบบ Palliative Care ควรมีลักษณะ "active" หรือ "เชิงรุก" คือ สามารถปรับเปลี่ยนแผนการดูแลได้ตามการเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาของการดำเนินโรค
Palliative care สามารถทำได้ที่ไหน
การดูแลแบบ Palliative Care สามารถทำได้ทั้งที่สถานพยาบาลและในส่วนของชุมชน  สถานพยาบาลอาจจะเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิหรือโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลในระดับทุติยภูมิหรือตติยภูมิ ในระดับของชุมชน อาจจะประกอบไปด้วยทีมเยี่ยมบ้านของหน่วยบริการสุขภาพในชุมชน หน่วยงานภาคประชาชน หรือองค์กรอิสระต่างๆที่ทำงานดูแลผู้ป่วย Palliative Care ตลอดจนแหล่งทรัพยากรสุขภาพในชุมชน ที่สามารถเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยและครอบครัวในมิติต่างๆของ Palliative Care เช่น วัด เป็นต้น ที่สำคัญคือ ในแต่ละส่วนของการดูแล ทั้งในสถานพยาบาลหรือในชุมชน ควรมีการประสานงานร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก (Accessibility) มีการดูแลแบบเป็นองค์รวม (Holistic care) โดยทีมสหวิชาชีพ (Team approach) และมีความต่อเนื่องในการดูแล (Continuity of care) ทั้งที่บ้านและที่โรงพยาบาล

เพื่อการเตรียมตัวจากไปอย่างสงบ
มนุษย์ ทุกชีวิต ล้วนมีวันก่อเกิดและเวลาพลัดพรากเป็นธรรมดา แต่ที่ต่างคือ เราไม่อาจเลือกเกิดได้ ขณะที่เราอาจเลือกได้ว่าจะตายอย่างไร และด้วยสภาวะจิตอย่างไร  การตายที่เลือกได้ในที่นี้ไม่ใช่การฆ่าตัวตายและก็ไม่ใช่ “การุณยฆาต” (mercy killing) คือเร่งให้ตายเพื่อหนีความทุกข์ทรมาน
การตายที่เลือกได้ในที่นี้ มาจาก ความปรารถนาภายในใจเจ้าของเรือนร่างผู้ใกล้จาก ไป ซึ่ง ต้องการ กำหนดชะตากรรมในวาระสุดท้ายของตนเองให้เป็นไปตามวาระกรรมของ ธรรมชาติ ปราศจากการยื้อหรือเร่งการตายเพื่อการเตรียมตัวจากไปอย่างสงบ   มนุษย์ ทุกชีวิต ล้วนมีวันก่อเกิดและเวลาพลัดพรากเป็นธรรมดา แต่ที่ต่างคือ เราไม่อาจเลือกเกิดได้ ขณะที่เราอาจเลือกได้ว่าจะตายอย่างไร และด้วยสภาวะจิตอย่างไร



<!--[endif]-->

ระงับปวด ในผู้ปวดระยะสุดท้าย

การใช้ยาระงับปวด ในผู้ปวดระยะสุดท้าย
 "http://portal.in.th/ms-pcare/pages/5325/

"วันนี้ปวดแผลไหมค่ะ ต้องการยาลดปวดรึเปล่าค่ะ"
"ถ้าปวดบอกได้นะค่ะ จะนำยาลดปวดมาให้คะ

คุณเคยได้ยินเสียงสอบถามเหล่านี้จากแพทย์หรือพยาบาลบ้างหรือไม่
เมื่อยามจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  เสียงที่ถามอย่างห่วงใย และปรารถนาดี
คำถามที่ปรารถนาจะให้ผู้ป่วยบอกเล่าถึงความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานเหล่านั้นให้ลดลง

จะเลือกใช้ยาอะไร 


แพทย์จะเลือกใช้ยา ขึ้นกับความรุนแรงและลักษณะของอาการปวด
ถ้าปวดน้อยใช้พาราเซตามอล ถ้าปวดปานกลางใช้โคเดอีนหรือ
ทรามาดอลร่วมกับพาราเซตามอล ปวดรุนแรงใช้มอร์ฟีนร่วมกับพาราเซตามอล โดยสามารถใช้ยาเสริมตามลักษณะของอาการปวด เช่น ปวดกระดูกเพิ่มยาลดการอักเสบ ปวดลำไส้บิดเป็นพักๆ เพิ่มยาลดการบีบตัวของลำไส้ ปวดแสบปวดร้อนจากระบบประสาทเพิ่มยากันชัก หรือยาระงับอาการซึมเศร้า เป็นต้น






จะรับประทานยาตอนไหน

ถ้าอาการปวดไม่มากหรือปวดเป็นครั้งคราว สามารถรับประทานยาเมื่อมีอาการได้ แต่ความปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้ายส่วนใหญ่ เช่น มะเร็ง เอดส์ มักเป็นความปวดต่อเนื่องตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอทั้งวัน ตามเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน ถ้ารอรับประทานเมื่อมีอาการแล้ว มักจะไม่ค่อยได้ผล
ยาระงับปวดส่วนใหญ่ ไม่มีฤทธิ์ระคายกระเพาะอาหาร จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานหลังอาหาร สามารถรับประทานขณะท้องว่างได้ ยกเว้นแอสไพรินหรือยาลดการอักเสบที่ใช้ในอาการปวดกระดูก

รับประทานพาราเซตามอลมาก ๆ ได้หรือไม่

ไม่ควรรับประทานพาราเซตามอลเกินวันละ ๘ เม็ด ถ้ารับประทานขนาดนี้แล้ว อาการปวดไม่ดีขึ้นใน ๒๔ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนเป็นยาอื่นเนื่องจากมีผลต่อตับ

ทำไมต้องใช้มอร์ฟีน



จำเป็นต้องใช้มอร์ฟีนสำหรับผู้ป่วยที่ปวดรุนแรง เนื่องจากออกฤทธิ์ได้ผลดี และปลอดภัยสูง สามารถเพิ่มปริมาณยาได้ไม่จำกัดตามความรุนแรงของอาการ และยังมีหลายรูปแบบ ทั้งชนิดน้ำเชื่อมออกฤทธิ์เร็ว ชนิดเม็ดออกฤทธิ์ช้าแบบต่อเนื่อง และชนิดฉีด จึงสามารถปรับเปลี่ยนยาได้สะดวก

ะติดมอร์ฟีนหรือไม่

ถึงแม้มอร์ฟีนจะถูกจัดอยู่ในยากลุ่มยาเสพติด และผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาเพิ่มขึ้นเมื่อมีอาการปวดมากขึ้นตามระยะของโรค แต่การติดยาเพราะภาวะทางจิตที่หวังผลสุขสบายจากยา โดยไม่เกี่ยวข้องกับผลระงับปวด เกิดขึ้นน้อยมากกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการดูแลของแพทย์
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาความปวดจากโรคด้วยวิธีอื่น เช่น การฉายรังสี หัตถการทางวิสัญญี เมื่อได้ผลแล้วจะสามารถลดปริมาณหรือหยุดการใช้มอร์ฟีนได้

ต้องระวังอะไรบ้าง เวลารับประทานมอร์ฟีน

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดของมอร์ฟีนคือ อาการท้องผูก จึงควรรับประทานยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ควบคู่ไปด้วยทุกวัน
มอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อมจะมีอายุการใช้งานไม่นาน ควรดูวันหมดอายุก่อนใช้ยาทุกครั้ง และเก็บรักษาตามที่โรงพยาบาลให้คำแนะนำ
มอร์ฟีนชนิดเม็ด ไม่ควรบด เคี้ยวหรือละลายน้ำเวลารับประทานเนื่องจากจะทำให้เม็ดยาสูญเสียคุณสมบัติการออกฤทธิ์ช้าแบบต่อเนื่องไป

การบรรเทาความเจ็บปวด
ที่มา : บทความเรื่อง การดูแลผู้ป่วยให้ "ตายดี" (6) จากเว็บไซต์หมอชาวบ้าน


โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่ยอมรับสภาพความเป็นจริงแห่งการเจ็บป่วยของตน และกลไกแห่งความตายตามธรรมชาติที่เป็นไปอย่างสุขสงบ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการทุกข์ทรมานอื่นๆ หรือถ้ามีก็ไม่เป็นปัญหามากนัก และสามารถคุมอาการได้ด้วยยาบรรเทาอาการตามธรรมดา

แต่ผู้ป่วยที่ไม่ยอมรับความเป็นจริงแห่งการเจ็บป่วยของตน และ/หรือไม่ยอมรับกลไกแห่งความตายตามธรรมชาติ และต้องการดิ้นรนต่อสู่ไม่ให้ตนเองตาย จะประสบกับความเจ็บปวดและอาการรบกวนต่างๆ ค่อนข้างมากจนถึงมากที่สุด ทำให้เกิดปัญหาแก่ตนเอง ครอบครัว และผู้ดูแลรักษา.

วิธีบรรเทาอาการเจ็บปวด



  1. การบีบนวดและการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะสำหรับอาการปวดเมื่อย ปวดตะคริว "เหน็บกิน" จากการอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานานๆ การช่วยบีบนวดและเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นิ่งๆ ซึ่งอาจเกร็งแข็ง                   (ติดยึด) อยู่จะช่วยลดอาการเหล่านี้ลงได้


2. การประคบร้อน/เย็น ซึ่งอาจใช้ "ลูกประคบ" เช่น ผ้าห่อสมุนไพรที่อังไฟหรือนึ่งให้ร้อน ซึ่งจะมีกลิ่น
        หอม ทำให้รู้สึกสบายขึ้น

   3. การช่วยให้จิตใจผ่อนคลายและสงบ เช่น การฟังเพลง/เทปพระเทศน์ การเปลี่ยนบรรยากาศ/
      สิ่งแวดล้อม เพื่อให้จิตใจของผู้ป่วยไม่ไปห่วงกังวลกับอาการเจ็บปวด จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลง 







4. การใช้ยาแก้ปวด อาจจะเริ่มตั้งแต่ยา acetaminophen (Paracetamol) ไปจนถึงมอร์ฟีน แบบกินหรือแบบฉีด โดยเริ่มจากขนาดต่ำๆ แต่ให้บ่อยๆ ได้ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ อาจใช้ยาอื่นร่วมด้วยเพื่อลดอาการปวด เช่น
1. สตีรอยด์ (steroids) ถ้าอาการปวดนั้นเกิดจากการอักเสบ/บวม การกดทับเส้นประสาท เป็นต้น
2. เอนเสด (NSAID, non-steroid anti-inflammatory drug) ถ้ามีอาการปวดข้อปวดกระดูก หรือมีการอักเสบ/บวม เป็นต้น
3. ยาลดการปวดเกร็ง (antispasmodics) ถ้าอาการปวดนั้นเกิดจากการบีบตัวรุนแรง ของกระเพาะลำไส้ หรืออื่นๆ
4. ยาระบบประสาท เช่น ยาแก้อาการซึมเศร้า เช่น amitryptytine, imipramine ยากันชัก เช่น carbamazepine, clonazepam, gabapentin ถ้าอาการปวดนั้นมีลักษณะปวดเสียวแปลบ ปลาบ แสบร้อน หรือปวดกระตุก เป็นต้น
5. การใช้ยานอนหลับ ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดแล้วยังไม่สามารถบรรเทาปวดได้ แม้จะใช้ยาติดๆ กันหรือในขนาดสูงจนเกิดอาการข้างเคียงจากยาแก้ปวดแล้ว ควรให้ยานอนหลับ เพื่อให้ผู้ป่วยหลับได้ ความทุกข์ทรมานจากอาการไม่สบายต่างๆ จะได้ลดลงหรือหมดไป ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกินขนาดต่ำๆ ก่อน แล้วกินซ้ำได้ใน 1 ชั่วโมงถ้ายังไม่หลับ จนกว่าจะหลับได้ ความเจ็บปวดจะลดลง

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การประเมินความเจ็บปวด IN ICU


Behavior Pain Scale (BPS)(Payenetal,2001)

1. ใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว/ใส่เครื่องช่วยหายใจ/ICU
2. ใช้ประเมินร่วมกับ NS, VS, O2 saturation, Sedative scale
3. คะแนนระหว่าง 3-12
4. พยาบาลเป็นผู้ประเมิน
5. การแปลผล    3 = ไม่ปวด  ,4-6 = ปวดเล็กน้อย ,7-9 = ปวดปานกลาง , 10-12 = ปวดมาก


Behavior Pain Scale (BPS)  (สําหรับผู้ป่วย on Ventilator)


การสังเกต
การตีความ
คะแนน
สีหน้า
Facial expression
สีหน้าผ่อนคลาย สงบ หลับ
ใบหน้าแสยะ ขมวดคิ้ว
คิ้วขมวด  เม้มริมฝีปาก หลับตาหางตาย่นเล็กน้อย
คิ้วขมวดเกือบติดกัน  เม้มมุมปากแน่น
1
2
3
4
การเคลื่อนไหว
Upper limbs
ไม่มีการเคลื่อนไหว
มีการเคลื่อนไหวเล็กน้อย  เคลื่อนไหวในแนวราบ
เคลื่อนไหวรุนแรง นิ้วงองุ้ม เกร็งแขนขา
เกร็งทั้งตัว
1
2
3
4
การต่อต้านเครื่องช่วยหายใจ
หายใจตามเครื่องช่วยหายใจ
มีอาการไอ พร้อมกับการเคลื่อนไหวร่างกาย
หายใจไม่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ
ต่อต้านเครื่องช่วยหายใจ
1
2
3
4


Behavior Pain Scale (BPS)  
(สําหรับผู้ป่วย Unconscious ที่ไม่ได้ On Ventilator)
การสังเกต
การตีความ
คะแนน
สีหน้า
Facial expression
สีหน้าผ่อนคลาย สงบ หลับ
ใบหน้าแสยะ ขมวดคิ้ว
คิ้วขมวด  เม้มริมฝีปาก หลับตาหางตาย่นเล็กน้อย
คิ้วขมวดเกือบติดกัน  เม้มมุมปากแน่น
1
2
3
4
การเคลื่อนไหว
Upper limbs
ไม่มีการเคลื่อนไหว
มีการเคลื่อนไหวเล็กน้อย  เคลื่อนไหวในแนวราบ
เคลื่อนไหวรุนแรง นิ้วงองุ้ม เกร็งแขนขา
ดิ้นไปมา เกร็งตัว
1
2
3
4
การต่อต้านเครื่องช่วยหายใจ
หายใจสงบราบเรียบ
มีอาการไอ  การหายใจติดขัด ไอ
หายใจไม่สม่ำเสมอ  ปีกจมูกบานเล็กน้อย
กระสับกระส่าย หายใจแรงเร็ว   ดิ้นไปมา

1
2
3
4